หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
รายได้ประชาชาติ
 
หน่วยที่ 7 เศรษฐศาสตร์มหภาค
  7.2 รายได้ประชาชาติ  
     
       ควมหมายของรายได้ประชาชาติ  
               รายได้ประชาชาติ  หมายถึง มูลค่าที่เป็นตัวเงินของผลผลิตหรือสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ระบบเศรษฐกิจได้ผลิตขึ้นในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
รายได้ประชาชาติ จึงเป็นรายได้ที่เกิดจากการผลิตสินค้าและบริการในรอบระยะเวลานั้น
 
     
  การคำนวณค่าผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น
             ค่า GDP สามารถคำนวณได้ 3 วิธีซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากันเพราะเป็นมูลค่าของสิ่งเดียวกันแต่วัดคนละด้าน ทั้งสามวิธีต่างอยู่ในวงจรกระแสการหมุนเวียนของผลิตภัณฑ์ รายได้ และรายจ่าย ตัวแปรทั้งสามเป็นสิ่งเดียวกันมีความเท่ากันเป็นเอกลักษณ์
identities สามารถแสดงสมการเอกลักษณ์ได้ดังนี้             
 
     
                  รายจ่าย = มูลค่าผลิตภัณฑ์ = รายได้  
     
  รายได้ประชาชาติมี 6 ชนิดคือ  
     
              1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP)

 
     
  หมายถึงมูลค่ารวมในราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลาหนึ่ งก่อนหักค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร ที่ในการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายนั้น
โดยปกติจะวัดในเวลา 1 ปี   ค่า GDP จะเน้นการผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศ โดยไม่คำนึงว่าหน่วยเศรษฐกิจที่ผลิตนั้นเป็นหน่วยเศรษฐกิจท้องถิ่นหรือหน่วยเศรษฐกิจของต่างประเทศ
 
     
  การคำนวณค่า GDP จะคำนวณเฉพาะมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย เนื่องจากถ้าใช้มูลค่าสินค้าขั้นกลางจะเกิดปัญหาการนับซ้ำ
double counting ซึ่งจะทำให้ได้ค่าสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว จึงใช้มูลค่าเพิ่มในขั้นตอนการผลิตสินค้าและบริการ

 
     
  มูลค่าเพิ่ม value added หมายถึง มูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่หน่วยเศรษฐกิจขาย หักด้วย มูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมา ใช้ในการผลิต หรือ ต้นทุนการผลิตในขั้นตอนนั้น การคำนวณค่าโดยใช้มูลค่าเพิ่มจะต้องแจกแจงทุกขั้นตอนการผลิตออกมาเพื่อหามูลค่าเพิ่ม ในแต่ละขั้นตอนและรวมเป็นมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในที่สุด  
     
     
        ในกรณีของสินค้าและบริการบางชนิดที่ผู้ผลิตเป็นผู้บริโภคเองและไม่ได้ผ่านระบบตลาด จะไม่นำมาคำนวณหามูลค่าของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ดังนั้น ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ทำการผลิตโดยไม่ผ่านระบบตลาดจะมีมูลค่า GDP ต่ำกว่าประเทศที่ทำการผลิตและขายผ่านระบบตลาด นอกจากนี้มูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่นำมาคิดค่า GDP ของปีจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผลิตขึ้นในรอบปีนั้นเท่านั้น โดยไม่นับรวมมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ได้ผ่านการซื้อขายมาแล้ว เพราะจะเกิดการนับซ้ำในมูลค่าสินค้าขึ้น  
     
              2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product : GNP)  
     
               หมายถึง มูลค่ารวมในราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติผลิตขึ้นได้ โดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศไทยในรอบระยะเวลาหนึ่งก่อนหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวร โดยปกติจะวัดในเวลา 1 ปี ค่า GNP จะเน้นการผลิตที่ใช้ทรัพยากรของประเทศโดยไม่คำนึงว่าการผลิตนั้นจะเกิดขึ้นภายในประเทศหรือต่างประเทศ
      ค่า GDP และ GNP มีความสัมพันธ์กันและสามารถปรับค่า GDP ให้เป็นค่า GNP ได้ โดยคำนวณหาค่ารายได้สุทธิจากต่างประเทศ
net income from abroad และนำมารวมกับ GDP ดังนี้ 
 
     
  GNP = GDP + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ  
  และ รายได้สุทธิจากต่างประเทศ = รายได้จากต่างประเทศ – รายได้ที่จ่ายให้ต่างประเทศ  
     
                   3. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net Nation Product : NNP)  
     
  หมายถึง มูลค่ารวมในราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติผลิตขึ้นได้
โดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่งภายหลังหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรแล้ว โดยปกติจะวัดในเวลา 1 ปี NNP สามารถหาได้จาก
 
     
  NNP     = GNP - ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวร  
     
                     4. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาต้นทุน (Net National Product at factor cost : NNP at factor cost)        
     
 
หมายถึง มูลค่ารวมในราคาต้นทุนของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติผลิตขึ้นโดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศในระยะเวลาหนึ่ง ภายหลังหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรแล้ว โดยปกติจะวัดในเวลา 1 ปี
โดยมูลค่าราคาต้นทุน หมายถึง ต้นทุนค่าตอบแทนปัจจัยการผลิตที่มีส่วนรวมในการผลิต ค่า NNP ในที่นี้เป็นค่าในราคาต้นทุน สามารถปรับค่าในราคาตลาดเป็นค่าในราคาต้นทุนได้ดังนี้
 
     
  NNP ราคาต้นทุน     = NNPราคาตลาด - (ภาษีทางอ้อม - เงินอุดหนุน)  
     
                   5. รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income)  
     
  หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับจากแหล่งต่างๆ ในรอบปี ซึ่งบางส่วนเป็นผลตอบแทนจากการผลิตหรือมีส่วนร่วมในการผลิตและบางส่วนได้รับในรูปของเงินโอน รายได้ส่วนบุคคลจะคิดเฉพาะรายได้และเงินโอนที่ครัวเรือนได้รับเท่านั้น   
     
  รายได้ส่วนบุคคล =รายได้ประชาชาติ – รายได้ที่ไม่ตกถึงครัวเรือน + เงินโอน  
  PI   =     NI   -   กำไรที่กันไว้ขยายกิจการ  -  ภาษีเงินได้นิติบุคคล +  เงินโอน  
     
                    6. รายได้สุทธิส่วนบุคคล (Disposable Personal Income)  
     
  หมายถึง รายได้ส่วนบุคคลหลังจากที่ครัวเรือนจ่ายพันธะผูกพันต่างๆ ได้แก่ ภาษีทางตรง เงินโอนให้รัฐบาล และเงินจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมแล้ว รายได้ส่วนที่เหลือเป็นรายได้สุทธิส่วนบุคคลที่ประชาชน (ครัวเรือน) สามารถนำไปใช้จ่ายในด้านต่างๆ ได้ เช่น บริโภค ชำระค่าดอกเบี้ยหนี้บริโภค เงินโอนให้ต่างประเทศ และเงินออมส่วนบุคคล (personal savings)  
     
  รายได้สุทธิส่วนบุคคล = รายได้ส่วนบุคคล - ภาษีทางตรง (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) - พันธะผูกพันอื่น ๆ  
  DI   =   PI  -   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  
     
               ผลิตภัณฑ์ในราคาประจำปีและผลิตภัณฑ์ที่แท้จริง
 
 
 
               ผลิตภัณฑ์ในราคาประจำปี Nominal GDP or Nominal GNP เป็นค่าที่วัดได้ในแต่ละปีจากราคาตลาด (หรือราคาต้นทุน) ของปีนั้น
มูลค่า
GDP ที่คำนวณได้จึงเป็นมูลค่าที่เป็นตัวเงิน money term ในราคาของปีนั้น current year หรือผลิตภัณฑ์ในราคาประจำปี nominal GDP or nominal GNP ซึ่งแสดงให้ทราบว่า ในปีนั้นๆ ประเทศสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาได้มูลค่าเท่าใด ในกรณีที่ต้องการดูการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตระหว่างปีจะไม่สามารถนำค่าในแต่ละปีมาเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่า GDP ในแต่ละปีอาจจะเกิดจากสาเหตุที่ต่างกัน
 
 
 
  เช่น   การเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิต หรือการเปลี่ยนแปลงราคาประจำปี เป็นต้น จึงต้องมีการปรับค่าผลิตภัณฑ์ในราคาประจำปีให้เป็นค่าผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงก่อนที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน  
     
  ผลิตภัณฑ์ที่แท้จริง (Real GDP or Real GNP)  
  เป็นมูลค่าของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายในปีใดปีหนึ่งที่คิดในราคาตลาดหรือราคาต้นทุนของปีที่กำหนดให้เป็นปีฐาน (base year) หรือมีการปรับการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละปีออกแล้วเพราะคิดในราคาคงที่ของปีที่กำหนดให้เป็นปีฐาน
 
     
  ตัวปรับลดผลิตภัณฑ์ Deflator
             ตัวปรับลดผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวหักลดผลิตภัณฑ์
GDP or GNP Deflator หมายถึง ค่าคงที่ที่ได้จากการหารมูลค่าผลิตภัณฑ์ในราคาประจำปีด้วยผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงของปีนั้นแล้วคูณด้วยหนึ่งร้อย ดังนี้
 
     
               ผลิตภัณฑ์เฉลี่ย per capital
 
     
               ผลิตภัณฑ์เฉลี่ย per capita หมายถึง มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อประชากร 1 คน หรือเฉลี่ยต่อแรงงาน 1 คน อาจจะได้แก่ ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น per capital GDP ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นเฉลี่ย per capital GNP เป็นต้น  
     
  ค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยสามารถคำนวณได้โดยการหารค่าที่ต้องการหาด้วยจำนวนประชากรในประเทศในปีนั้น เช่น
 
 
 
         ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นเฉลี่ย = ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น /จำนวนประชากร  
     
         ผลิตภัณฑ์เฉลี่ยจะบอกให้ทราบว่า โดยเฉลี่ยในรอบปีนั้นประชากรหรือแรงงาน 1 คน สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมามูลค่าเท่าใด ซึ่งจะบอกถึงความสามารถในการผลิต (รายได้หรือรายจ่าย) ของประชากรในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ  
     
 
 
     
  1.  GDP  + (X-M)      =     GNP  (Gross National Product)  (ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น)             
     
  2.  GNP  – ค่าเสื่อมราคาสินค้าทุน     =     NNP (Net National Product ) (ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ)  
     
  3.  NNP – ภาษีธุรกิจทางอ้อม + เงินอุดหนุน   =   NI  (National Income ) (รายได้ประชาชาติ)  
     
  4.  NI – (กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร + ภาษีเงินได้บริษัท + ภาษีประกันสังคม) + เงินโอน = PI (Personal Income)    รายได้ส่วนบุคคล  
     
  5.  PI – ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  = DI  (Disposable Income ) รายได้สุทธิส่วนบุคคล  
     
  6.  บัญชีรายได้ประชาชาติ (National Income Account) เท่ากับ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
ที่ประเทศผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่งปี     หรือ รายได้ประชาชาติ   National Income =   ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ   National Product
 
     
  7.  สูตรเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ ที่คำนวณจากรายได้ของผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต  
  วิธีการคำนวณด้านรายได้ (Income Approach)  รายได้  =  ค่าเช่า  +  ค่าจ้าง  + ดอกเบี้ย  + กำไร  
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th